จังหวัดตราด ต้นกฤษณา

การใช้ประโยชน์ของไม้กฤษณา

“สารกฤษณา” มีชื่อทางการค้าหลายชื่อ ได้แก่ agarwood (ยุโรป), aloeswood (สิงคโปร์), eaglewood (สหรัฐอเมริกา),gaharu (อินโดนีเชีย), oudh (อาหรับ), tram (เวียดนาม), jinko (ญี่ปุ่น), chen xiang (จีน) เป็นต้น ปัจจุบันนอกจากชิ้นไม้กฤษณาและน้ำมันกฤษณาที่เป็นสินค้าหลักในตลาดแล้วยังได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากกฤษณาให้มีความหลากหลายขึ้น เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ได้มากกลุ่มขึ้น โดยผลิตภัณฑ์จากกฤษณาที่เป็นสินค้าวางจำหน่ายอยู่ในท้องตลาด ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นตลาดในแถบเอเชีย เช่น ไทย ญี่ปุ่น สิงคโปร์ จากการสำรวจของ Phillips (2003) สามารถจำแนกได้ดังนี้

  • ท่อนไม้กฤษณา (agarwood branch or trunk section) เป็นท่อนกฤษณาขนาดใหญ่ ซึ่ง เป็นส่วนของกิ่งหรือลำต้นที่มีการสะสมสารกฤษณาเป็นบริเวณพื้นที่กว้างลักษณะเนื้อไม้จะมีสีน้ำตาลเข้มถึงสีดำ ซึ่งจะเรียกว่าไม้เกรด 1 หรือ เกรดซุปเปอร์ (super agarwood) ราคาขายต่อกิโลกรัมจะสูงมาก จากหลักหมื่นจนถึงหลักแสนบาทต่อกิโลกรัมขึ้นอยู่กับคุณภาพของท่อนไม้นั้น ปัจจุบันนี้หาได้ยากมาก

เพราะเป็นกฤษณาที่ได้จากต้นไม้ที่เกิดในธรรมชาติเท่านั้น และมาจากต้นไม้มีอายุมาก ซึ่งมีการสะสมกฤษณามาเป็นเวลานานหลายปีส่วนใหญ่ท่อนกฤษณาลักษณะนี้อาจจะเห็นปรากฏอยู่ในวัด หรือคฤหาสน์ของเศรษฐีเพื่อเป็นสิ่งแสดงความร่ำรวยมั่งคั่งของผู้เป็นเจ้าของ

  • ชิ้นไม้ (agarwood pieces) เป็นชิ้นไม้กฤษณาขนาดเล็ก ๆ ดังนั้นจึงมีราคาถูกกว่าไม้ท่อนขนาดใหญ่ ใช้สำหรับจุดเผาเพื่อให้มีกลิ่นหอมนิยมใช้จุดเพื่อต้อนรับแขกของชาวอาหรับและบางคนเชื่อว่าการดมกลิ่นควันจากการเผาชิ้นไม้กฤษณาจะทำให้รักษาโรคบางอย่างได้
  • น้ำมันกฤษณา (agaroil) เป็นน้ำมันที่สกัดได้จากกฤษณาเกรด3หรือเกรด4เนื่องจากการสะสมของสารกฤษณามีปริมาณน้อยกว่า ไม่สามารถนำไปขายเป็นชิ้นไม้ได้หน่วยที่ใช้เรียกน้ำมันกฤษณา เรียกว่า โตรา (Tora) มีปริมาณประมาณ 12 กรัมราคาขายกันอยู่ที่ประมาณ 2,400-4800 บาทต่อโตร่าประโยชน์ของน้ำมันกฤษณา คือ นิยมใช้ทาตัวของชาวอาหรับเพื่อให้มีกลิ่นหอมเป็นส่วนผสมของเครื่องยา เป็นส่วนผสมของน้ำหอมและเครื่องสำอางบางชนิด
  • ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ได้แก่ ผงไม้ที่เหลือจากการกลั่นน้ำมันกฤษณาแล้วนำไปทำธูปหอม ประเทศไต้หวันนำมาทำไวน์ และนำมาปั้นเป็นก้อนผสมน้ำมันกฤษณาและส่วนผสมต่าง ๆ ให้มีกลิ่นหอม เรียกว่า “marmool” ซึ่งผู้หญิงชาวอาหรับนิยมใช้จุดเพื่อให้มีกลิ่นหอม

คณะกรรมการเหล่ากาชาด จังหวัดนครปฐม เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ฯ

คณะกรรมการเหล่ากาชาด จังหวัดนครปฐม พร้อมคณะ 13 ท่าน เข้าเยี่ยมชมศาลาราชการุณย์ พิพิธภัณฑ์เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง สภานายิกาสภากาชาดไทย ซึ่งจัดแสดงนิทรรศการ การช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมชาวกัมพูชาอพยพ ระหว่างปีพ.ศ.2522-2529 โดยมีนายสมบูรณ์ ศิริเวช ผู้จัดการศูนย์ราชการุณย์สภากาชาดไทย เขาล้าน จ.ตราด ให้การต้อนรับ วันที่ 6 มิถุนายน 2566

โรงเรียนเหล่าทหารพระธรรมนูญ จำนวน 103 คน เข้าชมศาลาราชการุณย์ พิพิธภัณฑ์เฉลิมพระเกียรติ

วันพุธที่ 10 พฤษภาคม 2566 พลตรีจรัญ สังข์ศิริ ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม นำคณะ นายทหารนักเรียน พร้อมเจ้าหน้าที่ โรงเรียนเหล่าทหารพระธรรมนูญ จำนวน 103 คน เข้าชมศาลาราชการุณย์ พิพิธภัณฑ์เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง สภานายิกาสภากาชาดไทย ซึ่งจัดแสดงนิทรรศการ การช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมชาวกัมพูชาอพยพ ระหว่างปีพ.ศ.2522-2529 โดยมี นายสมบูรณ์ ศิริเวช ผู้จัดการศูนย์ราชการุณย์สภากาชาดไทย เขาล้าน จังหวัดตราด ให้การต้อนรับ

นางลลิตภัทร พฤฒิศาสตร์ นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลโชคชัย อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา พร้อมคณะ จำนวน 80 คน เข้าเยี่ยมชมศาลาราชการุณย์ พิพิธภัณฑ์เฉลิมพระเกียรติฯ

นางลลิตภัทร พฤฒิศาสตร์ นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลโชคชัย อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา พร้อมคณะ จำนวน 80 คน เข้าเยี่ยมชมศาลาราชการุณย์ พิพิธภัณฑ์เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง สภานายิกาสภากาชาดไทย ซึ่งจัดแสดงนิทรรศการ การช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมชาวกัมพูชาอพยพ ระหว่างปีพ.ศ.2522-2529 พร้อมทั้งชมสวนไม้มงคล 77 จังหวัด เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2566