สาละอินเดีย
มีชื่อพฤกษศาสตร์ว่า “Shorea robusta C.F. Gaertn.” อยู่ในวงศ์ Dipterocarpaceae
มีถิ่นกําเนิด มาจากประเทศอินเดียทางเหนือ ปัจจุบันคือประเทศเนปาล มักขึ้นเป็นกลุ่มๆ
ตามบริเวณที่ค่อนข้างชุ่มชื้น ชาวอินเดียเรียกกันโดยทั่วไปว่า“ซาล” Sal, Sal of India ในภาษาบาลี
เรียกว่า “ต้นมหาสาละ” พบมากในแถบแคว้นเบงกอล อัสสัม ลุ่มน้ํายมุนา เป็นไม้ยืนต้นที่ไม่ผลัดใบ
ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ความสูงประมาณ ๑๐-๒๕ เมตร และสามารถสูงได้ถึง ๓๕ เมตร มีลําต้น
ตรง เปลือกสีน้ําตาลอมดํา แตกเป็นร่องสะเก็ดทั่วไป เรือนยอดเป็นพุ่มหนาทึบ ใบดกหนา รูปไข่
ปลายใบหยักเป็นติ่งแหลมสั้น ผิวใบเป็นมันเกลี้ยง กิ่งอ่อนเกลี้ยง ปลายกิ่งห้อยลู่ลง ดอกจะออก
ในช่วงต้นฤดูร้อน มีสีเหลืองอ่อน ออกรวมกันเป็นช่อสั้นตามปลายกิ่งและง่ามใบ กลีบดอกและกลีบรอง
มีอย่างละ ๕ กลีบ ผลแข็ง มีปีก ๕ ปีก ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดและการตอนกิ่ง
สาละอินเดียมีลักษณะใกล้เคียงกับต้นรัง (Shorea siamensis Miq.) ซึ่งมีมากในประเทศไทย
จึงมักเข้าใจกันเป็นชนิดเดียวกัน ต้นสาละอินเดียอยู่ในวงศ์ Dipterocarpaceae เช่นเดียวกัน มีส่วนที่
แตกต่างกันเด่นชัด คือ สาละอินเดียเปลือกไม่แตกเป็นร่อง ใบแก่ที่ร่วงหล่นเป็นสีเหลือง และผิวใบ
เกลี้ยงมันไม่มีขน มีเกสรเพศผู้จํานวน ๑๕ อัน เส้นแขนงใบย่อยมี๑๐-๑๒ คู่ ผลมีเส้นปีก ๑๐-๑๒ เส้น
โคนปีกแนบติดผลมากกว่ากึ่งหนึ่งของผล มีขนสั้นรูปดาวปกคลุมประปราย ต้นรังมีใบอ่อนแตกใหม่
และใบแก่เป็นสีแดง ใบมีขนอ่อนนุ่ม ปกคลุม เกสรเพศผู้มีจํานวนมาก เส้นแขนงใบย่อยมี๑๔-๑๘ คู่
ผลมีเส้นที่ปีก ๗-๙ เส้น โคนปีกแนบติดผลน้อยกว่ากึ่งหนึ่งของผลและไม่มีขนปกคลุม
อาจารย์เคี้ยน เอียดแก้ว และอาจารย์เฉลิม มหิทธิกุล คณะวนศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ได้นํากล้าไม้สาละอินเดียอายุ ๑ ปีจากป่า Lashiwala เมือง Dehradun ประเทศอินเดียมาปลูกที่
สถานีฝึกนิสิตวนศาสตร์ห้วยทาก อําเภองาว จังหวัดลําปาง เมื่อวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๐๕ จํานวน
๑ ต้น และที่คณะวนศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร จํานวน ๑ ต้น
นายสมเพิ่ม กิตตินันท์อดีตรองอธิบดีกรมป่าไม้เมื่อครั้งดํารง ตําแหน่งหัวหน้าฝ่ายวนวัฒนวิจัย
กองบํารุง ทําการปลูกที่ศูนย์บํารุงพันธุ์ไม้สัก ตําบลบ้านหวด อําเภองาว จังหวัดลําปาง จํานวน ๑ ต้น
ท่านพุทธทาสภิกขุได้นําไปปลูกที่สวนโมกขพลาราม อําเภอไชยาจังหวัดสุราษฎร์ธานี จํานวน ๑ ต้น
ต่อมาหลวงบุเรศรบํารุงการ ได้นําเอาต้นสาละอินเดีย ถวายสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ธมฺมธโร)
วัดพระศรีมหาธาตุวรวิหาร เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร โดยปลูกไว้ที่หน้าพระอุโบสถ จํานวน
๒ ต้น พร้อมกับเมื่อวันที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๐ ได้น้อมเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
จํานวน ๒ ต้น ได้ทรงปลูกไว้ในพระตําหนักจิตรลดารโหฐาน จํานวน ๒ ต้น และทรงมอบให้ไปปลูกที่
วิทยาลัยเผยแพร่พระพุทธศาสนา ตําบลกระทิงลาย อําเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรีจํานวน ๑ ต้น
นอกจากนี้นายสวัสดิ์ นิชรัตน์ อดีตผู้อํานวยการกองบํารุง กรมป่าไม้ได้ทําการปลูกที่สวน
พฤกษศาสตร์พุแค อําเภอเฉลิมพระเกียรติจังหวัดสระบุรีจํานวน ๑ ต้น
ความสําคัญของสาละอินเดียกับพุทธประวัติ
พระพุทธเจ้าประสตู ิ
ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปีพระนางสิริมหามายาทรงครรภ์ใกล้ครบกําหนดพระสูติการ
จึงเสด็จออกจาก กรุงกบิลพัสดุ์เพื่อไปมีพระสูติการ ณ กรุงเทวหะ เมื่อขบวนเสด็จมาถึงครึ่งทาง
ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์กับกรุงเทวหะ ณ ที่ตรงนั้นเป็นสวนมีชื่อว่า “สวนลุมพินีวัน” เป็นสวน
“สาละใหญ่” พระนางประชวรพระครรภ์พลางประทับยืนชูพระหัตถ์เหนี่ยวกิ่งสาละใหญ่ และได้
ประสูติพระสิทธัตถะกุมาร ซึ่งตรงกับวันศุกร์ขึ้น ๑๕ ค่ํา เดือน ๖ ปีจอ ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี
พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
ก่อนพระพุทธเจ้าจะตรัสรู้และแสดงธรรมเทศนา พระองค์เสด็จไปประทับยังต้นสาละใหญ่
และเสด็จไปประทับนั่งยังต้นพระศรีมหาโพธิ์ ทรงบําเพ็ญเพียรจนตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวลารุ่งอรุณยามสาม ในวันเพ็ญเดือน ๖ และพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม
เทศนา “ธรรมจักกัปวัตตนสูตร” โปรดปัญจวัคคีย์บริเวณป่าสาละใหญ่อันร่มรื่น ณ อุทยาน
มฤคทายวัน ในวันเพ็ญเดือน ๘ พระรัตนตรัยจึงเกิดครบบริบูรณ์ครั้งแรกในโลกนี้คือ พระพุทธ พระ
ธรรม พระสงฆ์
พระพุทธเจ้าเสด็จสู่ปรินิพพาน
พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน เมื่อมีพระชนมายุครบ ๘๐ พรรษา ณ บริเวณสาลวโณ
ทยาน เมืองกุสินาราของมัลละกษัตริย์ ใกล้ฝั่งแม่น้ําหิรัญวดีเวลาใกล้ค่ําของวันเพ็ญเดือน ๖
พระองค์ทรงเหน็ดเหนื่อยมาก จึงมีรับสั่งให้พระอานนท์ซึ่งเป็นองค์อุปัฏฐากปูลาดพระที่บรรทม โดย
หันพระเศียรไปทางทิศเหนือ ระหว่างต้นสาละใหญ่ ๒ ต้น แล้วพระองค์ก็ทรงเอนพระวรกายลง
ประทับไสยาสน์แบบสีหไสยาโดยนอนตะแคงขวาพระบาทซ้ายซ้อนทับพระบาทขวาและเสด็จสู่ปรินิ
พาน
กล้าไม้สาละอินเดีย
กล้าไม้ที่ใช้ปลูกในโครงการต้นสาละอินเดียเฉลิมพระเกียรติถวายพระกุศลสมเด็จพระญาณ
สังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ๑๐๐ พรรษา
ในวันต้นไม้ประจําปีของชาติพ.ศ. ๒๕๕๖ จัดเตรียมโดย ดร.สาโรจน์ วัฒนสุขสกุล นักวิชาการป่าไม้
ชํานาญการพิเศษ โดยเก็บเมล็ดสาละอินเดียจากแม่ไม้ซึ่งปลูกไว้ที่สถานีวนวัฒนวิจัยงาว ชื่อเดิมศูนย์
บํารุงพันธุ์ไม้สัก อําเภองาว จังหวัดลําปาง ปัจจุบันอายุแม่ไม้มีอายุประมาณ ๓๗ ปีมีขนาด
เส้นผ่าศูนย์กลางที่ความสูงเพียงอก ๔๘.๑เซนติเมตร ความสูงทั้งหมด ๒๑.๕ เมตร ซึ่งร่วงหล่นใน
เดือนเมษายน ๒๕๕๕ มาเพาะในเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๕
การใช้ประโยชน์สาละอินเดีย
สาละอินเดียเป็นไม้เนื้อแข็งที่มีประโยชน์มาก มักนํามาใช้สร้างบ้านเรือน ต่อเรือ ทําเกวียน ทํา
ไม้หมอนรถไฟ ทําสะพาน รวมถึงเฟอร์นิเจอร์เครื่องใช้ต่างๆ เช่น โต๊ะ เก้าอี้เป็นต้น เมล็ด ใช้เป็น
อาหารสัตว์ และน้ํามันที่ได้จากเมล็ดนํามาทําเนย ใช้เป็นน้ํามันตะเกียง รวมทั้งใช้ทําสบู่ด้วย
นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณด้านพืชสมุนไพร ยางใช้เป็นยาสมานแผล ห้ามเลือด แก้โรคผิวหนัง ตุ่ม
พุพอง โรคซิฟิลิส โกโนเรีย วัณโรค ท้องร่วง บิด หูอักเสบ ผล ใช้แก้โรคท้องเสีย ท้องร่วง เป็นต้น