ส้มในพระพุทธประวัติจากการศึกษาค้นขว้าทำให้ทราบว่าส้มป่าพื้นเมืองของอินเดียนั้นมีอยู่เพียง 2 ชนิด ได้แก่ “นาเรงกี”(ส้มซ่า) และ “นิมบู”(มะนาวควาย) โดยส้มทั้งสองชนิดได้ถูกนำเข้ามาปลูกในเมืองไทยเช่นกัน ส้มที่พระพุทธเจ้าได้เก็บนั้นมีความเป็นไปได้ว่าน่าจะเป็น “นิมบู”(มะนาวควาย) มากกว่าอีกสายพันธุ์ เนื่องจาก”นิมบู” เนื่องจากส้มชนิดนี้มีดอกและผลตลอดทั้งปี
“นิมบู” ชื่อวิทยาศาสตร์: Citrus medica เป็นพืชในวงศ์ Rutaceae เป็นไม้พุ่มมีกิ่งมาก เปลือกลำต้นสีเทาอ่อน ไม้เนื้ออ่อน ยอดอ่อนสีม่วงหรือเขียวอมม่วง กิ่งอ่อนสีอมม่วง เป็นเหลี่ยม กิ่งแก่กลม ผิวเกลี้ยงมีหนามแหลมตามซอกใบ ใบประกอบลดรูปเหลือใบเดียว ขอบใบจักฟันเลื่อย ดอกช่อออกตามซอกใบ ดอกสีชมพูหรือขาว ผลทรงกลมยาว ผิวหยาบ ผลสดเปลือกเป็นปุ่มปมเล็กน้อย เปลือกหนา สีเหลือง กลิ่นหอม แต่ละกลีบขนาดเล็ก รสออกเปรี้ยว เมล็ดรูปไข่จำนวนมาก มีสองพันธุ์คือ พันธุ์ที่มีรสเปรี้ยว ยอดและตาดอกสีชมพู เนื้อมีรสเปรี้ยว และพันธุ์ที่รสไม่เปรี้ยว ยอดและตาดอกไม่เป็นสีชมพู เนื้อรสไม่เปรี้ยว ส้มโอมือและส้มซ่าหวานจัดเป็นสายพันธุ์ย่อยของมะงั่ว
สรรพคุณทางยาสมุนไพร
ผล ฟอกโลหิตและขับโลหิตระดู ขับเสมหะ แก้ไอ
น้ำจากผล แก้ไอ เป็นน้ำกระสายยา
เปลือกผล ใช้รักษากลาก แก้ลมจุกเสียด ท้องอืด ใช้ทำขนมหวาน
เปลือกต้น แก้พิษไข้
ยอดอ่อน ใช้ยำ จิ้มน้ำพริก ผลแก่คั้นน้ำใช้ปรุงอาหารแทนมะนาว ใบหั่นเป็นฝอยใส่ลาบ
ราก ใช้ขับเสมหะ แก้พิษฝีภายใน รักษาอาการปวดหลัง