โศกเหลือง

ลักษณะของต้นโสก

  • ต้นโสก หรือ ต้นโศก มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในประเทศอินเดีย จัดเป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ที่มีความสูงของต้นได้ประมาณ 5-15 เมตร และอาจสูงได้ถึง 20 เมตร เรือนยอดเป็นรูปทรงกลมพุ่มทึบ แตกกิ่งก้านเป็นพุ่ม ปลายกิ่งห้อยย้อยลู่ลง เปลือกต้นเรียบเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือแตกเป็นร่องตื้นตามยาวและตามขวางของลำต้น ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดและตอนกิ่ง เจริญเติบโตได้ดีในดินเกือบทุกชนิด ชอบดินร่วนที่ระบายน้ำดีและมีความอุดมสมบูรณ์สูง ชอบอยู่ริมน้ำ ต้องการความชื้นสูง มีเขตการกระจายพันธุ์ในภูมิภาคอินโดจีน ลาว เวียดนามตอนใต้ คาบสมุทรมลายู สุมาตรา และชวา ในบ้านเราพบได้ทุกภาคของประเทศ โดยจะขึ้นตามริมลำธารในป่าดิบแล้งและป่าดิบชื้น ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลจนถึง 900 เมตร

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ อโศกเหลือง

  • ใบโสก ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ ออกเรียงสลับ แกนกลางใบยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร มีใบย่อยประมาณ 1-7 คู่ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปรี รูปไข่ รูปขอบขนาน หรือรูปใบหอกปลายใบมนหรือแหลม โคนใบกลม เป็นรูปหัวใจ หรือเป็นรูปลิ่ม ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-10 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-30 เซนติเมตร แผ่นใบบาง เกลี้ยง ใบอ่อนเป็นสีเขียวอ่อนออกเหลือง ก้านใบย่อยยาวประมาณ 0.3-0.5 เซนติเมตร

ใบโสก

  • ดอกโสก ออกดอกเป็นช่อแบบช่อเชิงหลั่นตามซอกใบและที่ปลายกิ่ง ช่อดอกยาวประมาณ 3-15 เซนติเมตร กว้างประมาณ 10-20 เซนติเมตร ก้านดอกยาวประมาณ 1-2.5 เซนติเมตร ส่วนฐานรองดอกยาวประมาณ 0.7-1.6 เซนติเมตร ดอกเป็นสีแสดจนถึงสีแดง กลีบเลี้ยงเป็นหลอดเรียวยาวประมาณ 1-2 เซนติเมตร บริเวณปลายแยกเป็น 4 แฉก ลักษณะของกลีบเป็นรูปไข่แกมรูปรี หรือรูปขอบขนาน ปลายมน ยาวประมาณ 0.5-1.2 เซนติเมตร โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นรูปท่อ ไม่มีกลีบดอก ดอกมีเกสรเพศผู้ 6-8 อัน เกสรเพศผู้ยาวพ้นจากปากหลอด รังไข่มีขนตามขอบ เมื่อดอกบานเต็มที่จะมีขนาดกว้างประมาณ 1.2-1.5 เซนติเมตร โดยจะออกดอกในช่วงประมาณเดือนกุมภาพันธ์
  • ผลโสก ผลมีลักษณะเป็นฝักทรงแบน รูปไข่ หรือรูปรีแกมขอบขนาน ฝักมีขนาดกว้างประมาณ 2-6 เซนติเมตร และยาวประมาณ 6-30 เซนติเมตร ปลายฝักเป็นจะงอยสั้น ๆ ก้านฝักยาวประมาณ 0.5 เซนติเมตร เมื่อแก่ฝักจะแตกออกเป็น 2 ซีก ภายในฝักมีเมล็ดประมาณ 1-3 เมล็ด เมล็ดโสกมีลักษณะเป็นรูปไข่แบน และฝักจะเกิดจากดอกสมบูรณ์เพศเท่านั้น โดยจะติดผลในช่วงประมาณเดือนพฤษภาคม

ผลโสก

สรรพคุณของโสก

  • ดอกโสกมีรสหอมเปรี้ยว มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงธาตุ (ดอก)
  • แพทย์พื้นบ้านในอินเดียจะนิยมใช้เปลือกและราก นำมาปรุงเป็นยาบำรุงโลหิต (เปลือกและราก)
  • ดอกใช้เป็นยาแก้ไอ (ดอก)
  • ดอกใช้กินเป็นยาขับเสมหะ (ดอก)

*ภาพและข้อมูลจาก https://www.medthai.com/