มะเดื่อป่า

ชื่อวิทยาศาสตร์  :  Ficus racemosa L.

ชื่อวงศ์  :   MORACEAE

ชื่ออื่นๆ  :  มะเดื่อป่า,มะเดื่อเกลี้ยง, เดื่อน้ำ, เดื่อใหญ่, มะเดื่อชุมพร

ถิ่นกำเนิด  :  ประเทศศรีลังกา จีนตอนใต้ เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์  :
– ต้น เป็นไม้ต้นขนาดกลางสูงประมาณ 10–20 เมตร ลำต้นเกลี้ยงสีน้ำตาลหรือน้ำตาลปนเทา กิ่งอ่อนสีเขียว หรือสีเขียวในน้ำตาล กิ่งแก่มีสีน้ำตาลเกลี้ยง หรือมีขนปกคลุม
– ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกแบบสลับ ใบบาง รูปไข่หรือรูปหอก ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม ฐานใบมนหรือกลม ผิวใบเกลี้ยง หรือมีขน ไม่หลุดร่วงง่าย
– ดอก ออกเป็นช่อ ช่อดอก มีก้านเกิดเป็นกลุ่มบนกิ่งสั้นๆ ที่แตกออกจากลำต้น และกิ่งขนาดใหญ่
– ผล รูปกลมแป้นหรือรูปไข่ มีขน ออกเป็นกระจุกตามกิ่งและลำต้น เมื่อฉีกออกจะพบเกสรเล็กๆ อยู่ภายในผลผลสุกมีสีแดง

ประโยชน์  :  
– เปลือกต้น รสฝาด รับประทานแก้ท้องร่วง ชะล้างบาดแผล เป็นยาสมานดี
– ราก เป็นยาแก้ไข้ กระทุ้งพิษไข้ แก้ไข้หัว ไข้กาฬ ไข้พิษทุกชนิด กล่อมเสมหะ และโลหิต

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ มะเดื่อป่า ยา