หว้าเขา

ลูกหว้า เป็นผลไม้ที่เราอาจจะไม่ค่อยคุ้นเคยกันเท่าไหร่ แต่คุณรู้หรือไม่ว่าผลไม้ชนิดนี้มีคุณค่าทางโภชนาการสูงเพราะลูกหว้านั้นอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุอย่างวิตามินซี ฟอสฟอรัส แคลเซียม และคาร์โบไฮเดรต ซึ่งถือว่ามีประโยชน์อย่างมากต่อสุขภาพ โดยนิยมนำผลสุกมารับประทานเป็นผลไม้ (ผลสุกจะมีลักษณะสีม่วงและดำ มีรสออกเปรี้ยวอมหวานและอมฝาด) และใช้ทำเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ

นอกจากนี้ลูกหว้ายังมีสรรพคุณใช้เป็นยารักษาโรคและอาการต่าง ๆ อีกด้วย ด้วยการนำใบและเปลือกของต้นหว้ามาสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหย โดยจะมีสรรพคุณที่ค่อนข้างหลากหลาย เช่น ช่วยย่อยอาหาร ช่วยลดการจับตัวของลิ่มเลือด มีฤทธิ์ต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านโรคมะเร็ง เป็นต้น

ลูกหว้า สรรพคุณ

ประโยชน์ของลูกหว้า

  1. ลูกหว้าอุดมไปด้วยธาตุเหล็กซึ่งมีส่วนช่วยบำรุงกระดูกและฟัน (ผลดิบ)
  2. ผลดิบช่วยแก้อาการท้องเสียได้ (ผลดิบ)
  3. ผลสุกรับประทานแก้อาการท้องร่วงและอาการบิด (ผลสุก)
  4. ใช้รักษาอาการบิด มูกเลือด ท้องเสีย (ใบและเมล็ดหว้า)
  5. นำมาใช้ทำเป็นยาอม ยากวาดคอ แก้ปากเปื่อย แก้คอเปื่อย เป็นเม็ดตามลิ้นและคอ (เปลือกและใบหว้า)
  6. แก้อาการน้ำลายเหนียวข้น (เปลือกและใบหว้า)
  7. ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ด้วยการใช้ใบและเมล็ดหว้านำมาต้มหรือบดให้ละเอียด แล้วนำมารับประทานเพื่อรักษาอาการของโรคเบาหวานได้ เนื่องจากมีสารชนิดหนึ่งที่ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ (ใบและเมล็ดหว้า)
  8. ลูกหว้ามีสรรพคุณช่วยชะลอความแก่และความเสื่อมของเซลล์ได้ (ผล)
  9. ช่วยบรรเทาอาการของวัณโรคและโรคปอดได้ ด้วยการนำผลหว้าไปตากแห้งแล้วนำมาบดให้ละเอียด รับประทานเป็นประจำจะช่วยบรรเทาอาการให้ดีขึ้น (ผล)
  10. ช่วยรักษาโรคหอบหืดที่เกิดจากการแพ้อากาศ ด้วยการนำผลหว้าสดมาต้มกับน้ำแล้วดื่มเพื่อบรรเทาอาการ (ผลสด)
  11. ช่วยลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและเส้นเลือดอุดตันในสมองได้(ผล)
  12. มีส่วนช่วยต่อต้านการเกิดโรคมะเร็ง (น้ำมันหอมระเหย)
  13. ช่วยในการย่อยอาหาร ด้วยการเพิ่มการหลั่งน้ำดีและน้ำย่อยต่าง ๆ (น้ำมันหอมระเหย)
  14. ช่วยป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร (น้ำมันหอมระเหย)
  15. ช่วยยับยั้งเชื้ออีโคไล (Escherichia coli) ในช่องทางเดินอาหาร ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการท้องเสียบ่อย ๆ หรืออุจจาระเหลวเป็นน้ำ
  16. ช่วยลดการจับตัวของลิ่มเลือด (น้ำมันหอมระเหย)
  17. มีฤทธิ์ในการต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย (น้ำมันหอมระเหย)
  18. ใบและเมล็ดหว้านำมาตำให้แหลกแล้วใช้ทารักษาโรคผิวหนังได้ (ใบและเมล็ดหว้า)
  19. ใบและเมล็ดหว้าเมื่อนำมาต้มกับน้ำตาล แล้วนำน้ำที่ได้มาล้างแผลเน่าเปื่อยได้ (ใบและเมล็ดหว้า)
  20. น้ำจากลูกหว้าถือเป็น 1 ใน 8 ของน้ำปานะที่พระพุทธองค์ทรงมีพุทธานุญาติแก่พระภิกษุ
  21. ยอดอ่อนของหว้าสามารถนำมารับประทานเป็นผักสดได้ (ยอดอ่อน)
  22. ประโยชน์ของลูกหว้า ผลสุกนิยมนำมารับประทานเป็นผลไม้และใช้ทำเป็นเครื่องดื่มหรือไวน์ได้ (ผลสุก)
  23. เนื้อไม้ของต้นหว้าสามารถนำมาใช้ทำสิ่งปลูกสร้างบ้านเรือนได้อีกด้วย (ต้นหว้า)

ภาพและข้อมูลจาก https://www.medthai.com/