เร่ว

  • ต้นเร่ว จัดเป็นพืชล้มลุก มีเหง้าหรือลำต้นอยู่ใต้ดิน เป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด โดยเฉพาะในดินร่วนซุยในที่ร่มรำไร นิยมขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เหง้าหรือหน่อมากกว่าการใช้เมล็ด ในประเทศไทยสามารถพบได้ทางภาคอีสาน ภาคเหนือ และภาคกลาง

ต้นเร่วใหญ่

  • ใบเร่ว เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ผิวใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ลักษณะของใบเรียวยาว เป็นรูปขอบขนานหรือรูปขอบขนานแกมใบหอก มีความยาวประมาณ 12-20 เซนติเมตรและกว้างประมาณ 4-7 เซนติเมตร ปลายใบแหลมและห้อยโค้งลง ก้านใบเป็นแผ่นมีขนาดสั้น

ใบเร่วน้อย

  • ดอกเร่ว ดอกมีสีขาว ออกเป็นช่อจากยอดที่แทงขึ้นมาจากเหง้า ดอกจะรวมอยู่ในก้านเดียวกันเป็นช่อยาว ๆ คล้ายกับดอกข่า กลีบดอกเป็นสีชมพูอ่อนแล้วจะเปลี่ยนสีน้ำตาลเทา โคนกลีบดอกจะเชื่อมติดกันเป็นท่อ ปลายแยกเป็นกลีบ ก้านช่อดอกสั้น

เร่วใหญ่

  • ผลเร่วน้อย ผลค่อนข้างกลม ลักษณะเป็น 3 พู มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-1.5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร มีขน ผลแก่สีน้ำตาลแดง ภายในมีเมล็ดจำนวนมากจับกันเป็นกลุ่มก้อนกลม ๆ หรือกลมรี มี 3 พู โดยแต่ละพูจะมีเมล็ดประมาณ 3-15 เมล็ด อัดเรียงกันแน่น 3-4 แถว เมล็ดมีรูปร่างไม่แน่นอน มีหลายเหลี่ยมและมีเป็นสันนูน ขนาดกว้างประมาณ 2-3 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 2.5-4 เซนติเมตร เมล็ดมีสีน้ำตาลเข้มหรือสีน้ำตาลดำ ผิวด้านนอกเรียบมีเยื่อบางหุ้ม ปลายแหลมของเมล็ดมีรูเห็นได้เด่นชัด เมล็ดแข็ง เนื้อในเมล็ดมีสีขาวอมเหลือง มีกลิ่นหอมฉุน รสเผ็ดซ่า และมีรสขมเล็กน้อย

ลูกเร่วน้อยผลเร่วน้อย

  • ผลเร่วใหญ่ ผลมีลักษณะเรียวยาวหรือขอบขนานแกมสามเหลี่ยม มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร ผลแห้งแตกได้ มีขนสีน้ำตาลแดงปกคลุมอยู่ ผลมีรสมันเผื่อนติดเปรี้ยว ภายในผลมีเมล็ดเป็นกลุ่ม 10-20 เมล็ด ลักษณะเหมือนเร่วน้อย เมล็ดมีสีน้ำตาลเข้ม มีกลิ่นหอม มีรสร้อนเผ็ดปร่า

ผลเร่วใหญ่

เร่ว

สรรพคุณของเร่ว

  1. ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย ด้วยการใช้เมล็ดเร่วผสมกับหัวแห้วหมู ขิงแห้ง และชะเอมเทศ นำมาปรุงเป็นยารับประทาน (เมล็ด)
  2. ช่วยแก้ธาตุพิการ (ผลเร่วใหญ่)
  3. ช่วยลดไขมันในเลือด (เมล็ดเร่วใหญ่)
  4. ช่วยแก้โลหิตขึ้นเบื้องสูง (ผลเร่วใหญ่)ดอกเร่วน้อย
  5. ผลมีรสเผ็ดปร่า ใช้เป็นยาแก้ไข้ (ผลเร่วน้อย)
  6. ช่วยแก้ไข้สันนิบาต (ผลเร่วน้อย, ผลเร่วใหญ่, เมล็ดเร่วน้อย)
  7. ช่วยแก้ไข้เซื่องซึม (ราก)
  8. ผลเร่วใหญ่มีรสมันเผื่อนติดเปรี้ยว ช่วยแก้ไข้เพื่อดีและเสมหะได้ (ผลเร่วใหญ่)
  9. ช่วยแก้อาการหืด แก้อาการไอ (ราก)
  10. ช่วยแก้หืดไอ (ผลเร่วน้อย, ผลเร่วใหญ่, เมล็ดเร่วน้อย, เมล็ดเร่วใหญ่)
  11. ช่วยแก้อาการคลื่นเหียนอาเจียน รับประทานอาหารไม่ได้ (ต้น, เมล็ด, เมล็ดเร่วน้อย, เมล็ดเร่วใหญ่)
  12. ผลช่วยแก้เสมหะในลำคอ เมล็ดช่วยกัดเสมหะ (ผลเร่วน้อย, เมล็ดเร่วน้อย)
  13. ช่วยแก้เสมหะอันบังเกิดแต่ดี (ผลเร่วใหญ่)
  14. ช่วยบรรเทาอาการกระหายน้ำ (ผลเร่วใหญ่)
  15. ผลหรือเมล็ดจากผลที่แก่จัดใช้เป็นยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียดแน่นท้อง ด้วยการใช้เมล็ดจากผลแก่นำมาบดให้เป็นผง แล้วใช้รับประทานหลังอาหารครั้งละ 1-3 กรัม (ประมาณ 3-9 ผล) วันละ 3 ครั้ง (ผล, ผลเร่วใหญ่, เมล็ดเร่วน้อย, เมล็ดเร่วใหญ่)
  16. ช่วยแก้อาการปวดท้อง ด้วยการใช้เมล็ดเร่วผสมกับหัวแห้วหมู ขิงแห้ง และชะเอมเทศ นำมาปรุงเป็นยารับประทาน (ผลเร่วใหญ่, เมล็ดเร่วน้อย, เมล็ดเร่วใหญ่)
  17. เมล็ดเร่วน้อยช่วยบรรเทาอาการท้องเสีย ด้วยการใช้เมล็ดนำมาบดเป็นผงครั้งละประมาณ 7-8 กรัม ชงกับน้ำขิงต้มดื่มกินบ่อย ๆ (เมล็ดเร่วน้อย)
  18. ช่วยขับผายลม ช่วยทำให้เรอ (ผลเร่วใหญ่)
  19. ช่วยขับลมในลำไส้ (ใบ, เมล็ด, เมล็ดเร่วน้อย, เมล็ดเร่วใหญ่)
  20. ช่วยแก้ปัสสาวะพิการ (ใบ)
  21. ผลเร่วใช้เป็นยารักษาโรคริดสีดวงทวารได้ (ผลเร่วน้อย, ผลเร่วใหญ่, เมล็ดเร่วน้อย, เมล็ดเร่วใหญ่)
  22. เร่วช่วยแก้ระดูขาวของสตรี (ผลเร่วน้อย, ผลเร่วใหญ่)
  23. ช่วยแก้อาการประจำเดือนมามากกว่าปกติ ด้วยการใช้ผลเร่วแห้งหนักประมาณ 7-8 กรัม ย่างไฟจนแห้งกรอบแล้วนำมาบดเป็นผง ใช้ชงกับน้ำดื่มบ่อย ๆ (ผล)
  24. ช่วยรักษาพิษอันบังเกิดในกองมุตกิดและมุตฆาต (ผลเร่วน้อย)
  25. เมล็ดเร่วใหญ่ช่วยลดความเป็นพิษของสารพิษต่อตับ (เมล็ดเร่วใหญ่)
  26. ดอกเร่วช่วยแก้พิษอันเกิดเป็นเม็ดผื่นคันขึ้นตามร่างกาย (ดอก)
  27. ช่วยแก้อาการเป็นพิษ ด้วยการใช้เมล็ดนำมาบดเป็นผง ชงกับน้ำอุ่นแล้วนำมาดื่ม (เมล็ด)
  28. ช่วยขับน้ำนมหลังการคลอดบุตรของสตรี (เมล็ดเร่วน้อย, เมล็ดเร่วใหญ่)
  29. ช่วยรักษาอาการขัดในทรวง (ผลเร่วใหญ่)
  30. จากการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาพบว่าเร่วใหญ่มีฤทธิ์ขับลม ช่วยกระตุ้นกล้ามเนื้อเรียบของลำไส้เล็กส่วนปลาย และช่วยลดความดันโลหิต
  31. เร่วจัดอยู่ในตำรับยา “พิกัดทศกุลาผล” ซึ่งเป็นตำรับยาสมุนไพรที่จัดอยู่ในตระกูลเดียวกัน 10 ชนิด ประกอบไปด้วย เร่วน้อย เร่วใหญ่ ชะเอมไทย ชะเอมเทศ อบเชยไทย อบเชยเทศ ผักชีล้อม ผักชีลาว ลำพันขาว และลำพันแดง เป็นตำรับยาที่มีสรรพคุณช่วยแก้ไข้เพื่อดีและเสมหะ ช่วยบำรุงร่างกาย บำรุงธาตุ บำรุงปอด บำรุงดวงจิตให้แช่มชื่น ช่วยแก้ไข้ แก้รัตตะปิดตะโรค ช่วยขับลมในลำไส้ และแก้ลมอัมพฤกษ์อัมพาต

ประโยชน์ของเร่ว

  • ช่วยขับน้ำนมหลังการคลอดบุตรของสตรี (เมล็ด)
  • เมล็ดและผลของเร่วใหญ่สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องเทศได้
  • สามารถนำมาผลิตหรือใช้ทำเป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง น้ำมันหอมระเหย และผลิตภัณฑ์อาหาร

ภาพและข้อมูลจาก https://www.medthai.com/