ไผ่รวก

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ไผ่รวก

เนื้อไม้ ลำไม้รวกใช้ประโยชน์ในการตบแต่งบ้าน หรือส่วนต่าง ๆ ไผ่รวกมีความสวยงามเพราะขึ้นเป็นกอ ลำเรียวเปลาตรง กิ่งใบน้อยและอยู่เฉพาะตอนปลายของลำเท่านั้น การใช้ประโยชน์ในด้านเครื่องอุปโภค และอื่น ๆ คือ ทำรั้ว ทำคันเบ็ด ทำเครื่องจักสาน เครื่องมือกสิกรรมบางอย่าง โป๊ะน้ำตื้น 

     ใช้ ก่อสร้างเป็นส่วนต่าง ๆ ของบ้านในชนบท ใช้ทำเป็นไม้อัด เครื่องตบแต่งบ้าน ไม้ถือ ในประเทศพม่าใช้ไผ่รวกทำด้ามร่มเป็นบางที่ก็เรียกว่า “ไผ่วัด” (Kyanug – wa) ประโยชน์อีกประการหนึ่งคือ การปลูกเป็นแนวกั้นลม เป็นไม้ค้ำยันพืชกสิกรรมต่าง ๆ การขยายพันธ์ของไผ่รวกทำได้ง่าย มีความทนทานต่อความแห้งแล้ง และดินที่มีความเด็มทำให้มีการปลูกได้เกือบทั่วประเทศไทย
     ด้านการเป็นถ่านและฟืน ให้ความร้อน 6,512 แคลอรี่/กรัม
     ด้านสมุนไพร ส่วนที่ใช้เป็นสมุนไพรและมีสรรพคุณคือ
          ราก ขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ แก้หนองใน ขับโลหิตระดู แก้มุตกิดระดูขาว แก้ไข้กาฬ แก้ไข้กาฬมูต แก้กระหายน้ำ แก้เบาแดง บำรุงเสมหะและโลหิต ชำระเสมหะและโลหิต ประสะโลหิต แก้ไข้พิษ
          ขุยไผ่ แก้ทางปัสสาวะ แก้เสมหะ แก้บิด แก้โรคตาแดง แก้หืดไอ แก้ไข้
          ใบ ขับฟอกล้างโลหิตระดูที่เสีย ประสะโลหิต ล้างทางปัสสาวะ
          ผล แก้โรคตา แก้หืด ไอ แก้ไข้อันผอมเหลือง แก้ฟกบวม แก้ไข้
          หน่อไม้ แก้ หัวริดสีดวงทวารหนัก บำรุงร่างกาย ตา แก้สตรีตกเลือดไม่หยุด ขับปัสสาวะ ดูดลมในกระเพาะอาหาร แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ฝี แก้กาฬเลือด หนาม แก้พิษฝีต่าง ๆ แก้ไข้ แก้ไข้พิษ แก้ไข้กาฬ
     ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
          เป็น พิษต่อตัวอ่อน ลดน้ำตาลในหนูที่เป็นเบาหวาน ต้านแบคทีเรีย ลดการสร้างอสุจิ ลดการผสมพันธุ์ในหนูฆ่าอสุจิ ลดคอเลสเตอรอล ลดพิษของสีแดง บำรุงผมและผิว ฆ่าตัวอ่อน ต้านการกลายพันธุ์ ฤิทธิ์เหมือน serotonin ต้านไวรัส ต้านมะเร็ง ลดอาการลมหายใจเหม็น ยับยั้ง trypsin
          ใช้ ในเครื่องสำอางเพื่อดับกลิ่นและฆ่าเชื้อ เพิ่มการไหลเวียนของโลหิต ใช้ในการถูนวดร่างกาย เพิ่มฤทธิ์กระตุ้น graunlocyte ของ CD11b, CD15 และ CD35 ไล่แมลง ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย และราในเนื้อ กระตุ้นภูมิต้านทาน ทำให้แท้ง รักษาโรคอ้วน
     ด้านเป็นพืชอาหาร ส่วนที่ใช้เป็นอาหาร คือ
          หน่อ กินได้ เมื่อต้มหลายครั้งหรือต้มใส่ใบย่านางด้วย จะทำให้หน่อไม้ไผ่รวกมีรสชาติดีขึ้นและเป็นที่นิยมกัน นอกจากนั้นเมื่อปอกทำความสะอาดหน่อแล้ว ต้มอัดใส่ปี๊บไม่ให้อากาศเข้าสามารถเก็บเอาไว้นอกฤดูกาล ทำให้มีการทำ “หน่อไม้ปี๊บ” หน่อไม้ควรต้มน้ำรินน้ำทิ้งอย่างน้อย 2 – 3 ครั้ง เพื่อลดความขม